หุ้นยุโรป : หุ้นยุโรปปิดลบลดลง 0.36 จุด หลังตลาดทะยานขึ้นเกือบ 4%
ตลาดหุ้นยุโรปปิดปรับตัวลงเมื่อคืนนี้ (9 ก.พ.) โดยถูกกดดันจากแรงขายทำกำไร หลังตลาดทะยานขึ้นเกือบ 4% แล้วในเดือนนี้ท่ามกลางความหวังเกี่ยวกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และการฉีดวัคซีนต้านโรคโควิด-19
ดัชนี Stoxx Europe 600 ปิดตลาดที่ระดับ 410.42 จุด ลดลง 0.36 จุด หรือ -0.1%
ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมนีปิดที่ 14,011.80 จุด ลดลง 48.11 จุด หรือ -0.34% ขณะที่ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 5,691.54 จุด เพิ่มขึ้น 5.51 จุด หรือ +0.097% และดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,531.56 จุด เพิ่มขึ้น 8.03 จุด หรือ +0.12%
นักลงทุนได้ขายหุ้นออกมาเพื่อทำกำไร หลังจากตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมาขานรับความหวังว่า สหรัฐจะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ในเร็วๆ นี้
หุ้นกลุ่มสาธารณูปโภค รวมถึงกลุ่มน้ำมันและก๊าซนำตลาดปรับตัวลง ซึ่งบดบังการปรับตัวขึ้นของหุ้นกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือยและกลุ่มเฮลธ์แคร์
หุ้นโททาลของฝรั่งเศส ร่วงลง 1.8% หลังปรับตัวขึ้นมากถึง 2.8% หลังเปิดเผยผลประกอบการที่ดีเกินคาดในไตรมาส 4/2563
หุ้น TUI Group ร่วง 3.94% แตะระดับต่ำสุดในรอบกว่า 2 เดือน หลังบริษัทเปิดเผยผลขาดทุน 699 ล้านยูโรในไตรมาสแรก ufa
“หุ้นยุโรป”ความน่าสนใจที่หลายคนมองข้าม
แต่หากเรามองลึกเข้าไปในตัวตลาดหุ้นยุโรปเอง จะพบว่า แม้กระทั่งในปีที่เศรษฐกิจยุโรปหดตัวลงอย่างในปี 2555 ตลาดหุ้นยุโรปกลับสามารถปรับตัวขึ้นมาเป็นบวกได้เกือบ 20% หรือแม้กระทั่งในปีนี้เอง ที่คาดว่าเศรษฐกิจยุโรปน่าจะยังคงเป็นอีกปีที่ติดลบ แต่ตลาดหุ้นยุโรปตั้งแต่ต้นปีกลับปรับตัวขึ้นมาได้กว่า 8% (ข้อมูล ณ 2 ส.ค. 2556)
โดยทั่วไปแล้ว ดัชนีหุ้น เป็นหนึ่งในตัวชี้นำเศรษฐกิจ หรือที่เรียกกันว่า Leading Indicator ซึ่งจะเป็นตัวบ่งบอกทิศทางแนวโน้มของเศรษฐกิจในอนาคต นั่นหมายความว่า เมื่อมีการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะปรับตัวดีขึ้น ตลาดหุ้น มักจะปรับตัวขึ้นนำไปก่อน (แม้ว่าปัจจุบันเศรษฐกิจอาจจะยังไม่ดีก็ตาม)
ในกรณีของยุโรป จะเห็นได้ว่า แม้เศรษฐกิจยุโรปในปี 2556 นี้ จะยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ แต่เมื่อเทียบกับปี 2555 ก็นับว่ามีภาพรวมที่ดีขึ้น ดังนั้น เมื่อตลาดคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจในปีนี้จะดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้ตลาดหุ้นยุโรปในปีที่ผ่านมาปรับตัวดีขึ้น ในเมื่อดัชนีหุ้นเป็นหนึ่งในดัชนีชี้นำที่สำคัญสำหรับเศรษฐกิจ จึงนำมาสู่คำถามที่ว่า แล้วปีหน้าเศรษฐกิจยุโรปจะเป็นอย่างไร และจะส่งผลต่อการลงทุนในปีนี้อย่างไร
แม้ว่าเศรษฐกิจของยุโรปในภาพรวมจะยังคงเติบโตได้ค่อนข้างช้า ขณะที่การแก้ไขปัญหาหนี้ก็ดูเหมือนว่าจะยังไม่เสร็จสิ้นสมบูรณ์ แต่ก็เชื่อได้ว่าเศรษฐกิจยุโรปน่าจะผ่านพ้นจุดต่ำสุดไปแล้ว และน่าจะมีแนวโน้มที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้คาดการณ์ว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ยุโรปในปี 2556 ซึ่งจะหดตัวลง-0.60% นั้น จะสามารถกลับมาขยายตัวเป็นบวกได้ 0.90% ในปี 2557 ขณะที่ตัวเลขดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจของยุโรป ก็ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมาอยู่ระดับสูงสุดในรอบเกือบ 2 ปี รวมไปถึงดัชนีราคาภาคการผลิตหรือ PMI ซึ่งใช้ชี้วัดปริมาณธุรกิจทั้งในภาคผลิตและภาคบริการ ซึ่งได้ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องติดต่อกันหลายเดือน โดยล่าสุด ปรับขึ้นมาแตะระดับเหนือ 50 จุด ซึ่งแสดงถึงการขยายตัวในภาคธุรกิจเป็นครั้งแรกในรอบ 18 เดือน
นอกจากนี้ นโยบายของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ซึ่งเริ่มผ่อนคลายความเข้มงวดในการคุมการขาดดุลงบประมาณของประเทศสมาชิกลงเพื่อให้การบริโภค การลงทุน และการส่งออกของประเทศสมาชิกได้ฟื้นตัวขึ้นมา รวมถึงการคงนโยบายดอกเบี้ยต่ำอย่างต่อเนื่องเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจหลังจากปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงมา 0.25% ในเดือน พ.ค. 2556 มาอยู่ที่ระดับ 0.50% ก็เป็นปัจจัยเสริมอีกแรงที่จะช่วยทำให้เศรษฐกิจยุโรปสามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงแผนการจัดตั้ง “สหภาพการธนาคาร” โดยเชื่อว่าน่าจะจัดตั้งได้สำเร็จในปี 2557 นอกจากนี้ ยังมีความคืบหน้าในการจัดตั้งกองทุนที่จะตั้งขึ้นเพื่อใช้ป้องกันเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินต่อสถาบันการเงิน ซึ่งทั้งหมดนี้จะช่วยลดผลกระทบจากความเสี่ยงระหว่างเศรษฐกิจ ฐานะการคลังและฐานะของสถาบันการเงิน ออกจากกันอย่างชัดเจน
จะเห็นได้ว่า แนวโน้มเศรษฐกิจยุโรปในอนาคต เริ่มส่งสัญญาณที่ดี จึงไม่น่าแปลกใจว่า ตลาดหุ้นยุโรปในปีนี้ ได้เริ่มทยอยปรับตัวขึ้นมาก่อนแล้ว ซึ่งหากพัฒนาการและความคืบหน้าในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจในยุโรปสามารถแก้ไข และเติบโตได้อย่างต่อเนื่องตามที่ได้กล่าวไว้ ก็จะทำให้ตลาดยุโรปเป็นอีกตลาดทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุน โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาว่าระดับราคาหุ้นของตลาดยุโรปปัจจุบันยังอยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำ คือซื้อขายกันที่สัดส่วนราคาต่อกำไรหรือพีอี ประมาณ 12 เท่า ขณะที่ค่าเฉลี่ย 10 ปีอยู่ที่ประมาณ 13.9 เท่า นอกจากนี้ บริษัทจดทะเบียนยุโรปรายใหญ่ มักจะเป็นบริษัทข้ามชาติ ที่ไม่ได้มีรายได้จากในประเทศยุโรปเพียงอย่างเดียว โดยจากการศึกษาของมอร์แกนสแตนเลย์ พบว่าบริษัทยุโรปที่อยู่ในดัชนีหุ้น MSCI World Index มีรายได้จากนอกประเทศถึงกว่า 50%
ดังนั้น แม้ภาวะเศรษฐกิจยุโรปจะยังไม่ฟื้นอย่างเต็มที่ แต่เศรษฐกิจโลกในภาพรวม ยังสามารถขยายตัวได้ ซึ่งก็จะส่งผลบวกต่อผลประกอบการของบริษัทยุโรป และนำส่งไปถึงผลการดำเนินงานของหุ้นยุโรปเช่นเดียวกัน